เครื่องปั้นดินเผา มีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิต ประจำวัน บรรจุอาหารและสิ่งของ ฉะนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจแหล่งโบราณ คดีในประเทศไทย พบว่านับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา ในพื้นที่ของราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏแหล่งเตาเผาตั้งกระจัดกระจาย อยู่มากมายหลายแห่ง รวมทั้งได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวน มากมายหลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาในราชอาณาจักรไทยและ ที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ซึ่งได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่าย ให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วย เทคนิคและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างใน แต่ละท้องถิ่นหรือตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่ง บางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้น ดินเผา นอกจากนี้ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกันหรือมีการ ทำการค้าร่วมกัน จึงทำให้อิทธิพลต่าง ๆ สามารถส่งผ่านไปยังอีกชุมชน หนึ่งได้อย่างง่ายดายก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน
อาหารที่นิยม
แกงเขียวหวานนั้น เป็นแกงกะทิซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยทุกคนเป็นอย่างดี เพราะมีรสชาติกลมกล่อม รับประทานง่าย ยิ่งถ้าได้ข้าวสวยร้อนๆ สักจาน ราดด้วยแกงเขียวหวานก็อิ่มไปได้อีกหนึ่งมื้อ และนอกจากที่แกงเขียวหวานจะรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ แล้ว ขนมจีนแกงไก่ก็ถือว่าเป็นอาหารจานวิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ถูกปาก ถูกคอนักชิมทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ยังมีคนคิดดัดแปลงนำเอาแกงเขียวหวานไปรับประทานคู่กับโรตี ก็เข้าท่า เข้าทีดีเหมือนกัน แต่ท่านผู้อ่านเคยทราบไหมครับว่า ชื่อ “แกงเขียวหวาน” นั้น เขามีความเป็นมาอย่างไร ผมเชื่อแน่ว่า เกินครึ่งจะต้องตอบว่าที่แกงเขียวหวานมีชื่อนี้ก็เพราะว่า แกงเขียวหวานเป็นแกงที่มีสีเขียว และมีรสหวาน เหมือนกับบรรดาเหล่าลูกศิษย์ของผมบางคน ที่เคยได้เรียน ได้สอนกันมาหลายต่อหลายรุ่น แกงเขียวหวานนั้น เป็นแกงที่มีสีเขียว ซึ่งได้มาจากการใช้พริกสดสีเขียว โขลกผสมลงไปในเครื่องแกง แทนการใช้พริกแห้งสีแดงอย่างพริกแกงทั่วๆ ไป โดยชนิดของพริกที่ใช้ก็มีใช้ทั้งพริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู ดังนั้นแกงเขียวหวาน จึงได้เป็นแกงที่มีสีเขียว แตกต่างจากแกงทั่วๆ ไปที่มีสีค่อนไปทาง แดง ส้ม หรือน้ำตาล ที่เกิดจากสีของพริกแห้งสีแดงในพริกแกง ดังนั้นแกงเขียวหวานจึงมีสีที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งถือว่าโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับแกงไหนๆ ส่วนเรื่องของรสชาตินั้น ในสมัยโบราณ การปรุงรสแกงเขียวหวานนั้น จะปรุงเพียงแต่รสเค็มเท่านั้น ส่วนรสหวานจะได้จากความหวานโดยธรรมชาติ ของกะทิ เนื้อสัตว์ และผักหญ้าจำพวก มะเขือ จึงไม่จำเป็นต้องปรุงรสหวานลงไปในแกง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า รสหวานของแกงนั้นเป็นรสหวานอย่างธรรมชาติ ไม่ใช่หวานแหลมเสียจนแสบคอ และรสเด่นของแกงเขียวหวานก็คือรสเค็มที่ต้องนำ ตามมาด้วยหวาน แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผักหญ้า กะทิ หรือเนื้อสัตว์ ก็ขาดความสดใหม่ ไม่เหมือนกับในอดีต จึงทำให้ความหวานจากธรรมชาติ ไม่เพียงพออีกต่อไป ปัจจุบันจึงได้มีการอนุโลมให้ใส่น้ำตาลลงไปในแกงได้ เพื่อช่วยให้แกงมีรสหวานมากขึ้น แต่ก็ควรปรุงแบบมีมารยาท ไม่ใช่ตักใส่แบบโครมๆ อย่างขาดสติ เสียจนหวานนำ เพราะจะทำให้เสียเอกลักษณ์ของอาหารจานนี้ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น