วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี

วัดสิงห์

อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้ถนนสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาเข้าวัด เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป การเข้าชมต้องขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดก่อน ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือเป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรก ในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตุ่มสามโคก เป็นภาชนะบรรจุที่ใหญ่ที่สุดซึ่งผลิตจากเตาแหล่งนี้ ต่อมาภายหลังชาวรามัญเมืองสามโคก ได้เลิกร้างการผลิตไปโดยย้ายการผลิตไปที่เกาะเกร็ด เมืองนนทบุรี ซึ่งได้ขยายการผลิตตุ่มสามโคกขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้นำไปขายขึ้นล่องตามลำน้ำไปทั่วทุกภาค ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยโอ่งลายมังกรจากราชบุรีลักษณะตุ่มสามโคกมีเนื้อดินสีแดงส้ม เหมือนสีอิฐหรือสีมันปู เนื้อภาชนะค่อนข้างหนา รูปทรงปากโอ่งแคบ คอโอ่งจะติดกับไหล่ มีลายยืดเป็นเส้นคู่ตรงไหล่ ตรงกลางตุ่มป่องกลม รูปทรงเตี้ยป้อม ปากและก้นโอ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ปัจจุบันหาดูตุ่มสามโคกของเก่าได้ที่ วัดสิงห์ วัดสามโคก และตุ่มสามโคกขนาดใหญ่ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครที่กรุงเทพฯ

วัดเจดีย์หอย

อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 21-22 แล้วแยกเข้าวัดไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณวัดมีการขุดพบ ซากหอยนางรมยักษ์อายุนับล้านปีจำนวนมาก หลวงพ่อทองกลึงจึงนำซากหอยโบราณ มาก่อเป็นเจดีย์ขึ้นที่ด้านหน้าทางเข้าและในวัด นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์รวบรวมพระพุทธรูป และศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้เก่า ๆ จำนวนมาก เช่น ตุ่มสามโคก ถ้วยชามดินเผา ไม้แกะสลัก เครื่องคิดเลข เปลือกหอยนางรมยักษ์ หอยมือเสือยักษ์ ฆ้องทองเหลืองที่ลูบแล้วมีเสียงดังได้โดยไม่ต้องตี นอกจากนี้ในบริเวณวัดยังมีสวนสมุนไพร บ่อเลี้ยงเต่าและบ่อปลาสำหรับให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กับการให้อาหารสัตว์เหล่านี้

วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ)

อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบางปรอก ใกล้กับตลาดสดเทศบาล เป็นวัดที่สร้างโดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาไทย ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสัญลักษณ์ของวัดมอญคือ เสาหงส์ ซึ่งบนยอดเสาเป็นตัวหงส์หมายถึง เมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญ ปูชนียวัตถุสำคัญของวัดคือ พระพุทธชินราชจำลองปางมารวิชัย เจดีย์มอญจำลองแบบมาจาก เจดีย์จิตตะกองในเมืองหงสาวดี วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดี หลังคาเป็นชั้นๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวพุทธประวัติและยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปหล่อหลวงปู่เฒ่าที่ชาวบ้านนับถือ และมีศาลาการเปรียญประดับด้วยไม้แกะสลักสวยงาม วัดแห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด มีพันธุ์ปลาต่างๆ มากมายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเช่น ปลาสวาย ปลาเทโพ ว่ายมาชุมนุมกันอยู่เนืองแน่น เพื่อรอรับอาหารจากผู้มาทำบุญไหว้พระที่วัด

วัดไผ่ล้อม

อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านเหนือของจังหวัดปทุมธานี ใช้เส้นทาง 3309 (ถนนสายเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นแหล่งดูนกปากห่างที่ได้รับความสนใจ ทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เป็นอันมาก ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งรวมพื้นที่ของวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม ในเนื้อที่ 74 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นที่อาศัยของนกปากห่างมากว่า 100 ปีแล้ว นกปากห่างเป็นนกในวงศ์นกกระสา แต่มีลักษณะเฉพาะที่จะงอยปากซึ่งปิดไม่สนิท คือมีร่องโค้งตรงกลางปาก ซึ่งมีประโยชน์ต่อนกในการจับหอยโข่งกินเป็นอาหาร นกปากห่างมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม อพยพมาหาพื้นที่เหมาะสมในไทยเพื่อผสมพันธุ์ สร้างรังและวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์นี้ จะเห็นถึงสายสัมพันธ์ของครอบครัวนกในการสร้างรังด้วยกิ่งไม้ ผลัดกันหาอาหารและดูแลลูกน้อย มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและหอดูนก รายละเอียดติดต่อที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่า วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม โทร. 0 2979 8596
การเดินทาง วัดไผ่ล้อมสามารถโดยสารรถสองแถว จากตัวเมืองสายปทุมธานี-เชียงราก ลงรถหน้าวัด หรือนั่งรถสองแถวสายปทุมธานี-สามโคก ลงรถที่วัดดอน (วัดสุราษฏร์รังสรรค์) หรือวัดสามัคคิยาราม แล้วต่อเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังวัด ค่าโดยสารเรือคนละ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีรถสายหมอชิต-อ.เสนา และรถสายนนทบุรี-อ.เสนา ลงรถที่วัดดอนแล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังวัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ ยังมีบริการนำเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ-วัดไผ่ล้อม-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดโดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ไป-กลับ ทุกวันอาทิตย์ สอบถามรายเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2623 6001-3

วัดเจดีย์ทอง

อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย การเดินทางใช้เส้นทางสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 8 กิโลเมตรและแยกขวาเข้าวัดอีกประมาณ 500 เมตร ในวัดนี้มีเจดีย์ทรงรามัญ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจาก เจดีย์จิตตะกองของพม่า และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ

 

ความป็นมาของจังหวัดปทุมธานี

ความเป็นมา     
       เดิมจังหวัดปทุมธานีเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้น ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีก เป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคก และครั้งสุดท้าย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก อีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจาก ชุมชนขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา      พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกมิได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11 พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสออกเยี่ยมพสกนิกรที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย เยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็น ราชสักการะอยู่เป็นเมืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคก เสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2358 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวชื่อเมือง ปทุมธานี จึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา       ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้ เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ.2475 จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอ ดังที่เป็นเช่นปัจจุบันนี้
      นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้พระราชทานนามเมืองประทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญ รุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อื่นๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานี ภาคภูมิเป็นอย่างยิ่งและเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต อันใกล้
 

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาคอมพิวเตอร์2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
    - หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
    - ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
    - ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
    - การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
    - ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น

การพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
     ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด